ระวัง!! กินอาหารเสริม แล้วตาย!!! โปรดอ่าน วิธีการเลือกซื้อ ความรู้ วิตามิน แร่ธาตุ
สมัยนี่คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่เราจะต้องหาซื้อ อาหารเสริมมารับประทานกันนะค่ะ แต่จะมีซักกี่คนที่ มีความรู้ เท่าทัน อาหารเสริม รวมถึงผู้ที่ขายอาหารเสริม บางท่านก็เอาแต่ขายอาหารเสริม แต่ไม่มีความรู้
Saturday, August 16, 2014
Friday, August 15, 2014
Monday, July 28, 2014
วิตามิน & อาหารเสริม จำเป็นแค่ไหน
อาหารที่เรารับประทานเข้าไปจะให้สารอาหารที่แบ่งเป็น
2 ประเภท คือ Macronutrients (คาร์โบไฮเดรต
โปรตีน และไขมัน) กับ Micronutrients (วิตามิน และแร่ธาตุ)
กลุ่มแรกเป็นสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายต้องการในปริมาณมาก กลุ่มหลัง จำเป็นเช่นกัน
แม้ร่างกายต้องการในปริมาณน้อยกว่า แต่ขาดไม่ได้เลยสักนิด
เพราะถ้าขาดเมื่อใดจะส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายไม่ต่างจากกลุ่มแรก
วิตามินเป็นสารประกอบอินทรีย์
(ขณะที่แร่ธาตุเป็นสารประกอบอนินทรีย์)
ที่เราได้จากอาหารหลากหลายชนิดที่รับประทานเข้าไป
โดยเฉพาะอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป
ส่วนวิตามินและแร่ธาตุในรูปเม็ดหรือแคปซูลที่จำหน่ายตามร้านเป็นวิตามินที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น
ความต่างของวิตามินจากธรรมชาติและวิตามินสังเคราะห์
คือ หากมาจากธรรมชาติ ร่างกายสามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่า
และหากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปก่อให้เกิดพิษน้อยกว่าเมื่อเทียบกับวิตามินสังเคราะห์
ผลการวิจัยจากหลายสถาบันชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่าวิตามินที่ได้จากธรรมชาติหรือจากอาหารจะดีกว่าวิตามินสังเคราะห์
เพราะในอาหารไม่ได้มีองค์ประกอบแค่วิตามินอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบอื่น
ๆด้แก่น แร่ธาตุ และ Phytochemical ( สารเคมีจากพืชเป็นารที่ทำให้เกิดสี
กลิ่น และรสของผัก ผลไม้ มีคุณสมบัติ คือ การเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ)
ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะทำงานร่วมกันอันจะนำประโยชน์รอบด้านไปสู่ร่างกาย
ในขณะที่วิตามินหรือแร่ธาตุสังเคราะห์
แม้จะอยู่ในรูปพร้อมใช้งานแต่องค์ประกอบสำคัญที่ขาดหายไป คือ Phytochemical ดังนั้น
วิตามินสังเคราะห์จึงไม่อาจเทียบชั้นกับวิตามินที่ได้จากอาหาร (ยกเว้นวิตามินบี 9
หรือที่รู้จักในชื่อโฟเลต / กรดโฟลิก หากอยู่ในรูปสังเคราะห์
ร่างกายจะดูดซึมได้ดีกว่าบี 9 ในอาหาร)
สำหรับคนที่แข็งแรง
ร่างกายปกติ หากรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ทุกมื้อทุกวัน
ก็จะได้รับวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณที่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม
สำหรับบางกลุ่มคนที่อยู่ในภาวะ “พร่อง” โภชนาการหรือกลุ่มเสี่ยงขาดแคลน
วิตามินสังเคราะห์ก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลวนัก กลุ่มที่ว่าได้แก่
สตรีที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร สตรีที่รอบเดือนมามากผิดปกติ
คนชราที่พิการหรือมีโรคประจำตัว คนที่มีปัญหาด้านสุขภาพบางอย่าง
คนที่รับประทานมังสวิรัติแบบเคร่งครัด คนที่ลดความอ้วนผิดวิธี
ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด ผุ้ใช้ยาเสพติดและผู้สูบบุหรี่จัด เป็นต้น
คนจำนวนมากมักเข้าใจผิดคิดว่าวิตามินบางอย่างเมื่อรับประทานในปริมาณมากมันสามารถกลายเป็นยารักษาหรือป้องกันโรคบางอย่างได้
ยกตัวเย่างเช่นมีการโปรโมตว่าการรับประทานวิตามินซีช่วยรักษาอาหารหวัด
หรือวิตามินอีมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ แต่ความจริงก็คือ
ยังไม่มีงานวิจัยใดยืนยันว่าความเชื่อเหล่านั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง
อีกทั้งการรับประทานอาหารเสริมในปริมาณที่มากเกินไปยังจะก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ด้วยซ้ำ
การรับประทานวิตามินเสริมบางชนิดมากเกินความจำเป็นอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพได้
เช่น วิตามินที่ละลายในไขมันอย่าง เอ ดี อี และเคที่สามารถสะสมในร่างกายได้
และหากมากเกินไปก็ก่อให้เกิดพิษ วิตามินที่ละลายในน้ำ บางอย่าง เช่น บี 6 หากรับประทานมากไปก็เป็นพิษเช่นกัน
แร่ธาตุเองก็ไม่ต่าง
สังกะสี ธาตุเหล็ก โครเมียม และซีลีเนียม
หากรับประทานมากเกินกว่าจากที่แนะนำก็ทำให้เกิดโทษยกตัวอย่าง สังกะสี
หากมากเกินจะขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กและทองแดง ผลที่ตามมา คือ
ระบบภูมิคุ้มกันรวน ทำให้การทำงานของหัวใจมีปัญหา และเกิดโรคเลือดจาก
ขณะที่น้ำมันปลา
แม้จะมีคุณประโยชน์มากมาย แต่ถ้ารับประทานเกินจำเป็นอาจทำให้การแข็งตัวของเลือด (Blood Clotting) ลดลง ส่วนการรับประทานแคลเซียมในปริมาณมากจะทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กลดลง
หรือโอเวอร์โดสวิตามินเอไม่เพียงส่งผลต่อกระดูกและผิวหนัง ระบบประสาทส่วนกลาง
และการทำงานของตับ แต่ยังร้ายแรงถึงขั้นทำให้แท้งหรือทารกที่เกิดมาพิการอีกด้วย
ผู้เขียนไม่ได้ต่อต้านการใช้อาหารเสริมหรือวิตามินสังเคราะห์
แต่มองว่าจะดีกว่าไหมหากเราเรียนรู้ที่จะใช้มันอย่างชาญฉลาดโดยไม่ตกเป็นเหยื่อของโฆษณาวิตามินสังเคราะห์ไม่สามารถบริโภคแทนอาหารหลักได้
และหากจะใช้มันก็ควรเป็นระยะสั้นไม่ใช่ระยะยาว แต่ถ้าคิว่าอยากรับประทานจริง ๆ
ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ นักโภชนาการ นักกำหนดอาหารหรือผู้มีความรู้ไม่ใช่รับประทานสุ่มสี่สุ่มห้าหรือรับประทานตามแต่สัญชาติญาณจะพาไป
เพราะแต่ละโดสมีความหมายมีความสำคัญน้อยไปก็ไม่ดี มากไปก็เป็นพิษได้
ทางเลือกของการมีสุขภาพดีไม่ได้อยู่ที่การซื้อวิตามินสังเคราะห์มารับประทานแต่ยังมีอีกมากมายหลายทางที่เราสามารถทำได้
เช่น การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การปรับพฤติกรรมการรับประทานใหม่
การลดช่องทางที่จะนำไปสู่การเกิดโรคและการเลือกทานอาหารที่มีคุณค่ามีประโยชน์
ฮิปโปเครตีส
บิดาแห่งวงการแพทย์กล่าวไว้ว่า “Let your food
be your medicine and your medicine be your food” นับเป็นคำพูดที่ไม่เคยล้าสมัยเลย
การใช้อาหารเป็นยา หากทำได้ เราก็ไม่ต้องเสียเงินแพง ๆ
ซื้อวิตามินสังเคราะห์มารับประทานให้เปลืองงบโดยใช่เหตุ
Thursday, July 10, 2014
ความรู้ ประโยชน์ เป็นอย่างไรเมื่อขาด เกี่ยวกับอาหารเสริม ที่มีแร่ธาตุต่างๆ
สาระน่ารู้ เป็นอย่างไรเมื่อเรา ไปซื้อจาก ผู้อาหารเสริม ที่มีแร่ธาตุ มากิน เป็นอย่างไรมาดูกัน
แร่ธาตุหรือเกลือแร่มีหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย
เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
ร่างกายต้องการแต่ธาตุแต่ละชนิดในปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน
ตัวอย่างแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายประกอบด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส ไอโอดีน
เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง และโพแทสเซียม เป็นต้น
สามารถจำแนกแร่ธาตุตามความต้องการของร่างกายได้ 2 ประเภท ดังนี้
1 แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการปริมาณมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน (Macro
minerals) เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ไอโอดิน
โดยแคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย รองลงมาคือฟอสฟอรัส
2 แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการปริมาณน้อย (Trace minerals) เช่น ทองแดง
สังกะสี โครเมียม เหล็ก โมลิบดีนัม แมงกานีส ซีลีเนียม แม้ว่าร่างกายจะต้องการน้อยแต่ก็
ขาดไม่ได้เช่นกัน เพราะถ้าขาดจะส่งผลต่อการทำงานของร่างกายให้ผิดปกติไป
ตัวอย่างเช่น สังกะสี
ซีลีเนียม (Selenium) พบในถั่วเหลืองเปลือกแข็ง
อาหารทะเล สัตว์ปีก เนื้อวัวข้าวซ้อมมือ เป็นสารแอนติออกซิแดนต์
(ทำงานร่วมกับวิตามินซี วิตามินอี) ป้องกันโรคมะเร็งบางชนิด ลดอาการข้ออักเสบ
อาการเมื่อขาด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เพิ่ม ความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ผิวหนังอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อ่อนเพลีย
ร่างกายต้องการวันละ 55-70 ไมโครกรัม
โพเทสเซียม (Potassium) พบในส้ม
มันฝรั่ง กล้วย เนื้อวัว เป็ด ไก่ นม โยเกิร์ต ช่วยลดความดันเลือด
ควบคุมการเต้นของหัวใจ ควบคุมปริมาณของเหลวในร่างกาย เป็นสารขับปัสสาวะ
ช่วยขับสารพิษ อาการเมื่อขาด กล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้อาเจียน หัวใจล้มเหลว
ร่างกายต้องการวันละ 47000 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส (Phosphorus) พบในเนื้อสัตว์ ปลา นม เสริมสร้างและ
บำรุงกระดูกให้แข็งแรง สร้างสารเคลือบฟันทำให้ฟันแข็งแรง สร้างฟอสโฟลิปิด
สร้างโมเลกุลที่ให้พลังงาน อาการเมื่อขาด กระดูกเปราะ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร
เจ็บข้อต่อ ขาดความยืดหยุ่น ติดเชื้อง่าย ร่างกายต้องการวันละ 700 มิลลิกรัม
หากได้รับมากเกินไปจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี
แมกนีเซียม (Magnesium) พบในธัญพืช ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วฝัก
ผักใบเขียวเข้ม หอย ช่วยสร้างกระดูกและฟัน สร้างพลังงาน
ช่วยการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ ควบคุมการเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด
ผลิตและใช้ฮอร์โมน อินซูลิน อาการเมื่อขาด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและเบาหวาน
อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อเกร็ง กระวนกระวาย สับสน ร่างกายต้องการวันละ 400 มิลลิกรัม
ฟลูออไรด์ (Fluoride) พบในน้ำประปา น้ำชา ทำให้สารเคลือบฟันแข็งแรง
ป้องกันฟันผุ และภาวะกระดูกพรุน อาการเมื่อขาด เคลือบฟันเจริญช้ากว่าปกติ
กระดูกพรุน ร่างกายต้อยการวันละ 2 มิลลิกรัม หากได้รับมากเกินไป จะทำให้ฟันตกกระ
เอ็นยึดกระดูกหนา
แมงกานีส (Manganese) พบในขนมปังโฮลวีต ข้างกล้อง เมล็ด มะม่วงหิมพานต์
ถั่วเหลือง อัลมอนด์ น้ำชา ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์
สร้างเอนไซม์ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยนำโปรตีนตากอาหารมาใช้
ช่วยสร้างฮอร์โมนเพศและไทรอยด์ กระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนและเนื้อเยื้อในกระดูก
ช่วยหล่อลื่นข้อต่อระหว่างกระดูก อาการเมื่อขาด ปวดข้อ ผิวหนังเป็นผื่น มึนศีรษะ
กล้ามเนื้อกระตุก การทรงตัวไม่ดี ร่ายกายต้องการวันละ 2.3 มิลลิกรัม
หากได้รับมากเกินไปจะทำลายสมอง
โมลิบดีนัม (Molybdenum) พบในพืชผักใบเขียวต่างๆ เนื้อสัตว์
หน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเอนไซม์ที่สำคัญจำนวนมาก เช่น
เอนไซม์ที่เกี่ยวกับการขนย้ายธาตุเหล็กและการเผาผลาญไขมัน ทำให้ร่างกายใช้เหล็กได้
และยังช่วยบำรุงเส้นประสาท บำรุงสุขภาพเพศชาย ป้องกันการเป็นหมัน โมลิบดีนัม
เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย เพียง 0.5 มิลลิกรัม
จึงมักไม่พบการขาด
โซเดียม (Sodium) พบในอาหารหลายชนิด รักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย
นำสารอาหารจากเลือดเข้าสู่เซลล์ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว อาการเมื่อขาด เวียนหัว
ความดันโลหิตต่ำ ตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน อาการขาดน้ำ ปวดศีรษะ ไม่อยากอาหาร
แม้ว่าแต่ธาตุตัวนี้ร่างกายต้องการปริมาณสูง (2400 มิลลิกรัม
หรือเทียบเท่าเกลือ 6 กรัม) แต่ไม่จำเป็นต้องได้รับเสริม เพราะร่างกายมักจะได้รับเกินอยู่แล้วเพราะมีมากในเกลือ
แต่หากรับประทานมากไป โซเดียม จะดูดน้ำไว้ทำให้ภายในเส้นเลือดมีน้ำมาก
ทั้งที่พื้นที่ภายในเส้นเลือดมีเท่าเดิม จึงทำให้เกิดความดันสูง
ซิลิคอน (Silicon) พบในหอมหัวใหญ่ อัลฟัลฟา ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง
ข้าวโอ๊ด ข้าวเจ้า ข้าวบาร์เลย์ ช่วยเสริมความแข็งแรงของเนื้อเยื้อ หลอดเลือดแดง
หลอดลม ปอด การสร้างกระดูกและเอ็นในระยะเริ่มต้น
เสริมความแข็งแรงให้กับเส้นผมและเล็บ ต้านฤทธิ์ของอลูมิเนียม
จึงช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และกระดูกพรุน อาการเมื่อขาด เล็กลอก มีดอกเล็บ
กระดูกพรุน ผิวหนังเหี่ยวย่น ผมเสีย
ซัลเฟอร์ (Sulphur) หรือกำมะถัน พบมากที่สุดในไข่ ถั่ว เนื้อหมู วัย
ไก่ ช่วยผลิตสารเคราติน ซึ่งเกี่ยวกับความแข็งแรงของเส้นผม ผิวหนัง
ใช้ในการสร้ากระดูกอ่อน เส้นเอ็น ช่วยผลิตฮอร์โมนอิสซูลิน
สร้างและบำรุงระบบสืบพันธุ์ การรับประทานอาหารหมวดโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอ
ก็จะได้รับกำมะถันเพียงพอตามไปด้วย หากขาดกำมะถัน จะเกิดอาการผิดปกติที่ผิวหนัง
เล็บเปราะ และผมร่วง หากได้รับกำมะถันในรูปอาหารจะไม่เป็นอันตราย แต่หากได้รับมากในรูปของแร่จะมีพิษต่อกระเพาะอาหาร
ตับ และไต
Subscribe to:
Posts (Atom)