Sunday, July 6, 2014

อาหารเสริม และประโยชน์ของ วิตามินบี 9 (โฟเลต)

อาหารเสริม วิตามินบี 9 หรือโฟเลต เป็นวิตามินในกลุ่มวิตามินบีซึ่งเป็นวิตามินประเภทละลายในน้ำ อาจเรียกว่า วิตามินบี 9 หรือวิตามินเอ็ม โฟเลตพบได้ในอาหารทั่วไป โดยเฉพาะในผัก จะมีมาก ซึ่งผักชนิดแรกที่พบคือ ใบโฟเลียม (Folium leaf) จึงนำมาตั้งเป็นชื่อของวิตามินโฟเลต
นอกจากผักแล้วยังพบได้ในถั่ว ธัญพืช เนื้อ ตับ ไข่ ไก่ หมู อะโวคาโด กล้วย ส้ม ผลไม้รสเปรี้ยว ข้าวซ้อมมือ และยีสต์ เป็นต้น ซึ่งในธรรมชาติ จะอยู่ในรูปของโฟเลต หากอยู่ในรูปสังเคราะห์จะอยู่ในรูปกรดโฟลิก
โฟเลตมีหน้าที่ช่วยสร้างเซลล์ เนื้อเยื่อพัฒนาระบบประสาทและสมอง ควบคุมการสร้างสารพันธุกรรม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะเด็กทารก เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน ป้องกันความผิดปกติของร่างกายระหว่างตั้งครรภ์โดยเฉพาะการสร้างประสาทและสมองป้องกันการแท้ง ช่วยผลิตเม็ดเลือดแดง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ควบคุมความอยากอาหาร บรรเทาอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ลดระดับไฮโมซิสเทอีนซึ่งเป็น กรดอะมิโนที่เพิ่มความเสียงของการเป็นโรคหัวใจ ลดการเกิดมะเล็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น

ตับไก่ 1 ขีด มีปริมาณวิตามินบี 9 (โฟเลต)อยู่  770 มิลลิกรัม
ถั่วดำสุกครึ่งถ้วย มีปริมาณวิตามินบี 9 (โฟเลต)อยู่  130 มิลลิกรัม
หน่อไม้ฝรั่งสุก 5 ยอด มีปริมาณวิตามินบี 9 (โฟเลต)อยู่  100 มิลลิกรัม
ผักโขมสุกครึ่งถ้วย มีปริมาณวิตามินบี 9 (โฟเลต)อยู่  100 มิลลิกรัม
สตรอเบอร์รี่ 8 ผล มีปริมาณวิตามินบี 9 (โฟเลต)อยู่  80 มิลลิกรัม
ข้าวสุกครึ่งถ้วย มีปริมาณวิตามินบี 9 (โฟเลต)อยู่  65 มิลลิกรัม
อะโวคาโดครึ่งผล มีปริมาณวิตามินบี 9 (โฟเลต)อยู่  55 มิลลิกรัม
บรอกโคลีสุกครึ่งถ้วย มีปริมาณวิตามินบี 9 (โฟเลต)อยู่  50 มิลลิกรัม
ส้ม 1 ผล มีปริมาณวิตามินบี 9 (โฟเลต)อยู่  40 มิลลิกรัม
ไข่ 1 ฟอง มีปริมาณวิตามินบี 9 (โฟเลต)อยู่  25 มิลลิกรัม
มะละกอครึ่งถ้วย มีปริมาณวิตามินบี 9 (โฟเลต)อยู่  25 มิลลิกรัม
กล้วย 1 ผล มีปริมาณวิตามินบี 9 (โฟเลต)อยู่  20 มิลลิกรัม
อาหารธัญพืชผสมโฟเลต มีปริมาณวิตามินบี 9 (โฟเลต)อยู่ 400 มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่า อาหารธัญพืชที่ผสมโฟเลตจะมีปริมาณเพียงพอที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน หรือหากรับประทานตับไก่เพียงครึ่งขีดก็จะได้รับโฟเลตราว 400 ไมโครกรัมซึ่งเพียงพอต่อร่างกายแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเสริมโฟเลต แต่ยังพบการขาดโฟเลตในคนทั่วไป เนื่องจากการรับประทานอาหาร ไม่ครบถ้วน การตั้งครรภ์ การดูดซึมผิดปกติ หรือการดื่มสุรา
การขาดโฟเลตระหว่างการตั้งครรภ์ส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย อาจพิการและแท้งได้ สตรีมีครรภ์จึงควรรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกหรือรับประทานโฟเลตเสริมอาหาร สตรีชาวไอริชในเขตชานเมืองราว 85% รับประทานกรดโฟลิกเสริมก่อนการตั้งครรภ์ ถึงกระนั้นมีเพียง 18% เท่านั้นที่ได้รับกรดโฟลิกเพียงพอ การการโฟเลต พบมากในสตรีระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2539 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้บังคับให้มีการเติมกรดโฟลิกในผลิตภัณฑ์ขนมปัง ธัญพืช แป้ง และพาสต้า เป็นต้น เพื่อป้องกับการขาดโฟเลต และในปี พ.ศ. 2541 ประเทศแคนาดา ประกาศให้เสริมกรดโฟลิก 150 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัมของแป้งและธัญพืชเพื่อป้องกันเด็กแรกเกิดพิการทางสมองเนื่องจากการขาดโฟเลต
เนื่องจากโฟเลตมักขาดในสตรีมีครรภ์ซึ่งต้องใช้โฟเลตในการสร้างเม็ดเลือดแดง โดยเฉพาะในช่วงมีประจำเดือน สตรีมีครรภ์ต้องการโฟเลตสูง และโฟเลตยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาร่างกายของทารก การขาดโฟเลตทำให้เหนื่อยง่ายอ่อนเพลีย เป็นโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงแบ่งตัวช้า จึงมีขนาดใหญ่ผิดปกติ (Megaloblastic anemia) มีลิ้นแดง ผิวหนังอักเสบ ซีด ริมฝีปากแตก ระบบประสาทผิดปกติ ความจำเสื่อม เกิดอารมณ์แปรปรวนง่าย เบื่ออาหาร กระดูกสันหลังเสื่อม เดินเซ หากทารกในครรภ์อายุ 2 เดือนมีโฟลิกต่ำจะส่งผลให้เกิดกระดูกสันหลังโก่ง กระดูกไม่ปิด การสร้างสมองผิดปกติ การรับประทานแอสไพริน ยาคุมกำเนิด ยากันชัก (Phenytoin) ยาลดน้ำตาลในเลือด (Metformin) ยาต้านอักเสบ (Sulfasalazine) ยาขับปัสสาวะ (Triamterene) ยานอนหลับ (Barbiturates) ยาแก้แพ้ภูมิ (Methotrexate) ทำให้โฟเลตในเลือดลดต่ำ ผู้ป่วยลำไส้อักเสบ และผู้ที่สูบบุหรี่จะขาดโฟเลต Giovannucci และคณะ ได้ศึกษาประชากรอเมริกัน 47931 คน อายุ 40-70 ปีพบว่าผู้ที่ดื่มสุราและขาดโฟเลตจะเป็นมะเร็งลำไส้สูงกว่าผู้ที่รับประทานโฟเลตและกรดอะมิโนเมทไธโอนีน
หากร่างกายได้รับโฟเลตจากอาหารไม่เพียงพอก็สามารถรับ จากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมได้ ไม่มีรายงานพิษจากการที่รับประทานโฟเลตมากกว่าปริมาณ ที่แนะนำเพราะโฟเลตสามารถละลายน้ำได้ ส่วนเกินก็จะถูกขับออกไปพร้อมกับปัสสาวะ อย่างไรก็ตามการได้รับโฟเลตมากเกินไปจะทำให้ขาดวิตามินบี 12 ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานโฟเลตเกิน 2 เท่าของปริมาณที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน เช่น เด็กอายุ 1-3 ปี ไม่ควรรับประทานโฟเลตเกิน 300 ไมโครกรัม ผู้ให้นมบุตรไม่ควรรับประทานโฟเลตเกิน 1000 ไมโครกรัม
ผู้หญิงกว่า 88000 คนที่เข้าร่วมโครงการศึกษาสุขภาพของพยาบาลโดยแรกเข้าไม่พบการป่วยเป็นโรคมะเร็ง หลังจากนั้น 14 ปี พบว่าผู้หญิงที่อายุ 55-69 ปีที่รับประทานวิตามินผสมโฟลิกต่อเนื่องมากกว่า 15 ปีมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่ำ การศึกษาประชากรจำนวน 14000 คน เป็นเวลา 20 ปี พบว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่มีโฟเลตมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ต่ำ จากการศึกษาทางระบาดวิทยาแนะนำว่าอาหารที่มีโฟเลตสูงช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านม การศึกษาประชากรชาวสวีเดน 81922 คน พบว่าผู้ที่รับประทานโฟเลตที่ได้จากอาหาร ลดความเสี่ยงของมะเร็งตับอ่อน
นอกจากที่กล่าวไปแล้วข้างต้น โฟเลตยังมีหน้าที่อื่นๆ ดังนี้
                เร่งการสลายไขมัน ลดการสะสมของคอเลสเตอรอลในตับ และในเลือด พบความสำพันธ์ว่าการที่ร่างกายมีโฟเลตต่ำมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ การรับประทานโฟเลต 5 มิลลิกรัมต่อวันช่วยลดความดันโลหิตและลดความเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองแตก (Stroke) พบว่าการขาดโฟเลต วิตามิน ซึ่งก่อให้เกิดโรคหัวใจ หากได้รับโฟเลตจะทำให้โฮโมซีสเทอีนลดลง
                เพิ่มกระสิทธิภาพของสมอง การศึกษาในผู้ที่อายุ 50 ปี จำนวน 818 คนเป็นเวลา 3 ปี พบว่ากลุ่มที่รับประทานกรดโฟลิก 2 เท่าของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (RDA)หรือ 800 มิลลิกรัม พบว่ามีความจำระยะสั้น ความคิด และการพูด ดีกว่ากลุ่มแรกที่ได้รับยาหลอก
                ลดการแพ้ หอบหืด โดยพบว่าคนที่รับประทานโฟลิก 8083 คนมีภูมิคุ้มกันที่ก่ออาการแพ้ (IgE) ในเลือดลดลง

                ช่วยในการสร้างสเปิร์มในเพศชาย ในเพศหญิงจะช่วยให้ไข่แบ่งส่วนตัวสมบูรณ์ และช่วยการฝังตัวของตัวอ่อน

1 comment: