Tuesday, July 8, 2014

การโฆษณาขายอาหารเสริม

ในทางธุรกิจ ผู้ขายอาหารเสริมชั้นนำจะทุ่มทุนกว่าครึ่งใน การโฆษณาขายอาหารเสริม เพื่อให้ประชาชน รู้จักตัวสินค้าอาหารเสริม ประโยชน์ที่ได้รับ คุณภาพของอาหารเสริม ยี่ห้ออาหารเสริม ตลอดจนของแถมต่างๆ ซึ่งในการโฆษณาจะใช้กลยุทธ์หลายรูปแบบมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ facebook Instagran Line twitter สื่อ digital media ต่างๆมากมาย และใช้ ดาราดังๆ มีชื่อเสียงมาอวดอ้างสรรพคุณมากมาย ถึงแม้ว่า จริงๆแล้ว ดาราที่มา โฆษณานั้น ไม่ได้เคยใช้ อาหารเสริม ชนิดนั้นๆ เลย ซึ่งแบบนี้เรียกว่า อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงและไม่มีจรรยาบรรณในการโฆษณา ดังนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงได้เข้ามาควบคุมการโฆษณาอาหารเสริมและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมดังนี้
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์ในการโฆษณา อาหารเสริม พ.ศ. 2551
ตามมาตราที่ 40 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาประโยชน์ คุณภาพ หรือ สรรพคุณของอาหาร อันที่เป็นเท็จ หรือเป็นการหลอกลวงที่จะให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร แต่หากจะทำการโฆษณา ตามมาตราที่ 41 ก็ได้ให้มีการกำหนดให้ผู้ที่จะโฆษณา ประโยชน์ คุณภาพ และ สรรพคุณของอาหารเสริม ทางสื่อต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ internet สื่อ digital ต่างๆต้องให้ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะสามาระโฆษณาได้
หลักการ และ ข้อปฎิบัติในการโฆษณาอาหารเสริม
1 อาหารเสริมที่กฎหมายกำหนดให้ขออนุญาตผลิต นำเข้า และอื่นๆ จะต้องได้รับอนุญาติตามกฎหมายว่าด้วยอาหารตามแต่ละกรณีนั้นๆ
2 การโฆษณาคุณประโยชน์ สรรพคุณ และคุณภาพของอาหารเสริมต้อง
         2.1 ไม่เป็นเท็จหลอกลวง เกินความเป็นจริง ไม่ทำให้ผู้บริโภค เข้าใจผิดหลงเชื่อในสาระสำคัญของอาหารเสริม และเกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร
         2.2 โฆษณาประโยชน์เฉพาะที่ได้รับอนุญาตในฉลาก ที่ได้รับอนุมัติจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และเป็นไปตามระเบียบประกาศ ตามกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง ฉลากโภขนาการเท่านั้น
          2.3 ทั้งนี้หากมีการโฆษณากล่าวอ้างประโยชน์สรรพคุณของอาหารเสริมทางสุขภาพ นอกเหนือไปจากที่ได้รับอนุญาตในฉลาก ที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาดังกล่าว จะต้องนำผลการศึกษาวิจัยของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้นๆ บทความรู้ หรือข้อมูลทางวิชาการใดๆ มาประกอบกับการขออนุญาตโฆษณาอาหารเสริม ต้องเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และสามารถเชื่อถือได้ และถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์หรือทางวิชาการที่สามารถเชื่อถือได้ โดยผู้ที่ทำการขอ จะต้องแนบเอกสารที่ได้รับการตีพิมพ์ฉบับเต็มมาประกอบการพิจารณาด้วยนั่นเอง
ดังนั้นเพื่อให้การขอโฆษณาเป็นไปตามเจตนารมณ์ของทางกฎหมาย สำนัก อย. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ แนวทางในการโฆษณาอาหารเสริมไว้ดังต่อไปนี้

โดยการโฆษณาอาหารเสริมหมายรวมถึง การกระทำด้วยวิธีการใดๆ ที่เพื่อให้ ประชาชนเห็นหรือ รับรู้ข้อความเพื่อประโยชน์ทางการค้า

No comments:

Post a Comment